ป้ายกำกับ: ประเพณีและวัฒนธรรม

ประเพณีล้านนา

ประเพณีล้านนา ประเพณียี่เป้ง

       สำหรับประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีของชาวภาคเหนือที่นิยมจัดกันทุกปี โดยจะเลือกจัดงานตรงกับวันลอยกระทงของปีนั้นนั้น คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณ เดือนพฤศจิกายน  ยี่เป็งเป็นภาษาล้านนา โดยมีการแยกคำออกมาว่า ยี่ ในทางภาษาของลานนานั้นหมายถึง เดือนสอง ซึ่งเดือนนี้เป็นเดือนพฤศจิกายนของทุกปีในความหมายของคนล้านนา

ส่วนคำว่าเป็งนั้น ในภาษาล้านนาหมายถึง พระจันทร์ในคือวันเพ็ญวันจันทร์ขึ้นเต็มดวง 

สำหรับการจัดเตรียมงานฉลองเทศกาลยี่เป็งนั้นทางชาวล้านนาจะมีการเตรียมตัวกันตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งวันดังกล่าวจะเป็นการเริ่มต้นการเตรียมงาน โดยจะเป็นการเรียมข้าวของ ทั้งอาหาร ขนมและอื่นอื่นอีกมากมาย สำหรับจะเอาไว้ไปทำบุญทีวัดในวันขึ้น 14 ค่ำ และพอตกลางคืนของวันขึ้น 15 ค่ำก็จะเป็นการเริ่มงานประเพณียี่เป็ง

โดยภายในงานจะมีการจัดทำกระทงไปลอยในแม่น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและสิ่งศักดิ์ทุกองค์ตามความเชื่อของชาวล้านนา รวมถึงการขมาต่อแม่น้ำคงคา ที่มีการนำน้ำในแม่น้ำลำคลองมาใช้สำหรับกินและอาบ ซึ่งในวันนี้ชาวบ้านต่างก็จะพากันจัดทำโคมเพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือนให้มีความสวยงาม รวมถึงจะมีการจัดงานทำบุญ ฟังเทศมหาชาติ ซึ่งชาวบ้านจะนำโคมมาตกแต่งทำซุ้มประตู นำมาประดับตกแต่งภายในงานที่จะใช้สำหรับให้พระสงฆ์นั่งเทศนาอีกด้วย

นอกจากนี้ยังจะมีการประดับไฟทั่วทั้งหมู่บ้านอย่างสวยงาม ในตอนพลบค่ำชาวบ้านต่างก็จะมารวมกันเดินทางไปที่โบสถ์เพื่อบูชาเทียน โดยมีความเชื่อกันว่าเป็นการต่อชะตา สะเดาะเคราะห์ และรับโชค รับพร โดยจะมีการทำไส้เทียนเท่ากับอายุตัวเอง และยังมีการเขียนวันเดือนปีเกิดตัวเองลงในกระดาษสา และเมื่อนำไปประกอบพิธีกรรมในโบสถ์เสร็จแล้วก็จะนำเทียนดังกล่าวกลับมาใช้ที่บ้าน ทั้งเอาไว้จุดบูชาพระ  จุดดอกไม้ไฟ หรือเอาไว้จุดปล่อยโคมไฟ 

     สำหรับเทศกาลประเพณียี่เป็งนี้ นอกจากทำบุญ และลอยกระทงแล้ว สิ่งที่เป็นไฮไลของงานที่ผู้คนนิยมเดินทางร่วมงานประเพณียี่เป็งกันมากที่สุดก็คือ การจุดโคมไฟให้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยจะมีโคมไฟลอยขึ้นฟ้าเป็นจำนวนมากกว่า หนึ่งพันดวง ทำให้ท้องฟ้าสวยงามมองขึ้นไปเหมือนมีดาวเต็มท้องฟ้าไปหมด

ซึ่งท้องฟ้าในวันนี้จะเป็นเหมือนแสงสีแสด เปล่งประกายระยิบระยับ และประเพณีจัดกันทุกจังหวัดของภาคเหนือ แต่จะมีการจัดงานกันแบบยิ่งใหญ่ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเที่ยวงานมากที่สุดคือที่ จังหวัดเชียงใหม่

 

สนับสนุนโดย  sagame

งานบุญเทศน์มหาชาติของชาวบ้านชีทวน

บุญผะเหวด งานบุญเทศน์มหาชาติของชาวบ้านชีทวน

พอถึงเดือน4ให้พากันเก็บดอกจานสารบั้งไม้ไผ่ปักดอกจิกข้อความนี้ได้มีการกล่าวถึงชาวอีสานมาแต่เก่าก่อนเพราะดอกจิกดอกจานจะบานราวเดือน3ชาวบ้านจะพากันเก็บดอกไม้เหล่านี้นำเอามาร้อยเป็นพวงมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาเปรียญสำหรับเอาไว้จัดงานบุญใหญ่คือ งานบุญผะเหวด หรือที่รู้จัดกันโดยทั่วไปคือบุญมหาชาติเป็นงานบุญประเพเณีฮีตสิบสองของชาวอีสานวันนี้เราจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับงานบุญผะเหวดหรืองานบุญมหาชาติของชาวชีทวนอําเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นงานบุญที่ของชาวชีทวนยังคงอนุรักษ์วิถีชุมชนดั่งเดิมเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้สืบสารกันต่อไป

บุญผะเหวดเป็นการออกเสียงตามสำนองของชาวอีสาน

ซึ่งมาจากคำว่าพระเวทบุญผะเหวดเป็นการจัดงานบุญเพื่อที่จะให้ชาบ้านนั้นรำลึกถึงพระเวสสันดรผู้บำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ก่อนที่จะมาเสวยชาติเป็นองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติต่อมาหัวใจที่สำคัญของงานบุญผะเหวดคือการเทศน์มหาชาติ13กันในฮีตสิบสองของชาวอีสานถือว่างานบุญผะเหวดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในฮีตสิบสองนิยมจัดงานกันในช่วงเดือน3ถึงเดือน4งานประเพณีชีทวนเดือน4นั้นจะต้องทำเป็นประจำและถ้าไม่ทำเชื่อกันว่าอาจจะทำให้ฝนแร้งอะไรประมาณนั้นนอกเหนือจากบุญบั้งไฟเดือน6บุญมหาชาติฝนก็ได้ตกมาสารพัดที่ได้ตกลงมาเมื่อครั้งพุทธกาล

 

และบางครั้งในตอนที่ยังเป็นเวสสันดอนก็ดีถือได้ว่าเป็นฝนที่ตกลงมาอย่างสารพัดที่ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลและนั่นพวกชาวบ้านก็จึงได้จักงานทำบุญผะเหวดกันและก็ฟังเทศน์ตลอดทั้งวันเพื่อให้จบทั้ง13กันมีนกระทั้งปรารถนาว่าเกิดชาติหน้าต่อๆไปจะได้เกิดรวมกับพระศรีอริยเมตไตรย ชาวชีทวนยังคงรักษาประเพณีเก่าก่อนในการจัดงานบุญผะเหวดคือมีวันโฮมและวันฟังเทศน์วันโฮมหรือวันรวมเป็นวันที่จะต้องรวมมือรวมใจกันของผู้คนในชุมชนเพื่อที่จะได้เตรียมงานเทศน์มหาชาติได้มีการจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะใช้จัดงานเตรียมเครื่องสักการะดอกไม้ธูปเทียนข้าวตอกข้าวพันก้อน

 

และเครื่องคาวหวานสำหรับผีเปรดโดยรอบๆศาลาจะมีการแขวงภาพผะเหวดเป็นเรื่องราวของพระเวสสันดรตั้งแต่กันที่1ถึงกันสุดท้ายและซึ่งที่ขาดไม่ได้เลยในงานบุญผะเหวดของชาวอีสานไม่ได้เลยก็คือข้าวปุ้นหรือขนมจีนจะต้องมีการจัดเตรียมเอาไว้ให้พร้อมสำหรับแขก บุญผะเหวดถ้าจะให้พูดเป็นภาษากลางเรยกบุญมหาชาติ มหา แปลว่าใหญ่ ชาติ แปลว่า  การเกิดขององค์สมเด็จขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นชาติสุดท้าย

พระแก้วมรกตถูกอัญเชิญไปเวียงจันทร์

ประวัติการค้นพบพระแก้วมรกตและสาเหตุที่พระแก้วมรกตถูกอัญเชิญไปเวียงจันทร์

ตามประวัติตำนานพระแก้วมรกตนั้นว่ากันว่าการค้นพบพระแก้วมรกตนั้นมีมานานเกินกว่า 500ปีมาแล้วโดยมีการระบุเป็นหลักฐานเอาไว้ว่าครั้งแรกที่มีการค้นพบพระแก้วมรกตนั้นพบว่ามีการซ่อนเอาไว้ที่วัดป่าแห่งหนึ่งแห่งเมืองเชียงรายโดยเจดีย์องค์นั้นถูกฟ้าผ่าทำให้ยอดเจดีย์หักซึ่งจังหวะนั้นเองมีพระสงฆ์รูปหนึ่งได้มาพบกับพระพุทธรูปที่ซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ปูนแห่งนั้นพระสงฆ์องค์นั้นที่เป็นคนเจอพระแก้วมรกตจึงคิดว่าพระพุทธรูปที่ค้นพบเป็นเพียงแค่พระพุทธรูปที่สร้างมาจากหินเท่านั้นจึงได้นำพระพุทธรูปไปวางเรียงรายรวมกับพระพุทธรูปองค์อื่น

และต่อมาไม่นานปูนที่ฉาบบริเวณปลายฐานของพระพุทธรูปเกิดปรากฎการณ์ออกทำให้มองเห็นว่าด้านในของพระพุทธรูปเป็นสีเขียวมรกตหลังจากนั้นจึงได้มีการกะเทาะปูนที่ครอบพระพุทธรูปสีเขียวเอาไว้อยู่ทำให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวที่อยู่ด้านในถูกสร้างมาจากอินมรกตซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างจากหยกชิ้นเดียวทั้งองค์และไม่มีรอยแตกที่ไหนเลยซึ่งหลังจากนั้นเรื่องดังกล่าวได้รู้ไปถึงหูของเจ้าเมืองเชียงใหม่พระองค์จึงสั่งให้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ยังเมืองเชียงใหม่แต่ระหว่างทางที่อัญเชิญกลับพบว่าช้างที่อัญเชิญพระแก้วมรกตนั้น

เมื่อถึงทางแยกระหว่างเชียงใหม่และลำปางกับตื่นตระหนกไม่ยอมเดินไปฝั่งของทางเชียงใหม่ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นถึงสามครั้งทำให้เจ้าเมืองเชียงใหม่เปลี่ยนใจให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองลำปางแทนและนำพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วเป็นเวลาประมาณสามสิบกว่าปี ประมาณปี พ.ศ. 2011 เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ใหม่เรืองอำนาจจึงได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงในเมืองเชียงใหม่เจ้าเมืองเชียงใหม่และพระองค์ยังได้มีการสั่งให้สร้างปราสาทขึ้นภายในวัดเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตแต่ก็เกิดฟ้าผ่าทำให้ยอดประสาทเสียหาย

จึงทำให้พระแก้วมรกตถูกอัญเชิญนำมาเก็บไว้ในตู้ของวัดและได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา 84 ปี ต่อมาลูกสาวเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้สมรสกับเจ้าโพธิสารเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบางและได้มีโอรสนามว่าพระไชยเชษฐ์ซึ่งในปี พ.ศ. 2094 เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้เสด็จสวรรคตโดยไม่มีทายาททำให้พระไชยเชษฐ์จำเป็นต้องเดินทางกลับมาปกครองเมืองเชียงใหม่และได้มีการเปลี่ยนพระนามเป็นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และหลังจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นาน พระเจ้าโพธิสารซึ่งเป็นบิดาของพระองค์เสด็จสวรรคต ทำให้พระองค์ต้องเสด็จกลับเมืองหลวงพระบางและพระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วยและพระองค์ก็ตัดสินใจอยู่ปกครองเมืองที่หลวงพระบางซึ่งต่อมาพม่าบุกยึดเชียงแสนได้สำเร็จทำให้พระเจ้าไชยเชษฐ์ได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์และหลังจากนั้นพระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทร์ถึง215 ปี